Data Governance คืออะไร?

ในยุคสมัยที่โลกได้เข้าสู่ digital transformation ข้อมูลได้กลายเป็นเสมือนของมีค่าสำหรับองค์กรต่างๆทั่วโลก ดังนั้นในโลกที่ถูกขับเคลื่อนด้วยข้อมูล การจัดการกับข้อมูลที่ถูกรวบรวมมาจึงเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญสำหรับองค์กรที่กำลังเติบโต สิ่งนี้จึงนำไปสู่กรอบความคิดที่มีชื่อว่า Data Governance.

เป้าหมายของ Data Governance หรือ การจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูล คือการจัดการข้อมูลโดยสร้างข้อกำหนดหรือนโยบายภายในอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับข้อมูลที่ถูกรวบรวมมาจากกระบวนการสร้างข้อมูบเพื่อนำมาใช้ในการจัดเก็บ การวิเคราะห์ การลบ การเข้าถึง การป้องกัน และการนำไปใช้ แต่ถึงอย่างนั้น Data Governance ก็มีความแตกต่างจาก Data Management โดย Data Management จะเป็นการจัดการความต้องการด้านวงจรชีวิตของข้อมูลทั้งหมด (Data Lifecycle) ขององค์กร ส่วน Data Governance จะเป็นส่วนประกอบหลักของ Data Management ซึ่งเชื่อมโยงกับอีก 9 ข้อกำหนด อย่างเช่น การควบคุมคุณภาพของข้อมูล ข้อมูลอ้างอิงและข้อมูลหลัก การสร้างความปลอดภัยของข้อมูล การจัดการข้อมูลอภิพันธุ์ (Metadata) เป็นต้น

ทำไม Data Governance ถึงจำเป็น?

การนำ Data Governance ไปใช้คือการกำหนดนโยบายเพื่อนำไปใช้ในการจัดการข้อมูล ซึ่งในบางครั้งทิศทางของ Data Governance อาจจะแปรผันไปตามจำนวนของพนังงานที่มีอยู่ในองค์กร อย่างเช่น เป้าหมายในเรื่อง Data Governance ขององค์กรขนาดเล็กนั้นอาจจะต่างกับขององค์กรที่มีขนาดใหญ่ก็เป็นได้ ซึ่งจะอาจจะต้องมีการเพิ่มระเบียบหรือมาตรการเพื่อให้เหมาะสมกับระดับของข้อมูลภายในที่มีอยู่

แบบแผนของ Data Governance นั้นให้ความสำคัญใน 3 องค์ประกอบ คือ บุคคล กระบวนการ และ เทคโนโลยี โดยยึดจากการจัดการวงจรชีวิตข้อมูล ซึ่งจำเป็นต้องระบุอย่างชัดเจนว่าใครต้องรับผิดชอบดูแลข้อมูลตั้งแต่ขั้นตอนการรวบรวมจนถึงการทำลายหรือลบข้อมูลนั้นๆ

เป้าหมายการทำ Data Governance

  • Data Security

เพื่อทำให้ข้อมูลที่ถูกเก็บภายในมีความปลอดภัยไม่มีการรั่วไหล เนื่องจากข้อมูลหลายอันที่เป็นความลับ ทำให้ต้องมีการกำหนดผู้รับผิดชอบในหน้าที่แก้ไข และรวมไปถึงการเก็บชุดข้อมูลสำรองไว้เผื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันขึ้น

  • Data Privacy :

เพื่อรักษาความเป็นส่วนตัวของข้อมูลบุคคลนั้นๆ ซึ่งข้อมูลนั้นๆต้องได้รับการยินยอมจากเจ้าของข้อมูลก่อน

  • Data Quality :

เพื่อให้ข้อมูลนั้นเกิดประโยชน์และสามารถนำไปใช้ได้ จึงต้องมีการกำหนดมาตรฐานในเรื่องของ คุณภาพของข้อมูลให้มีความถูกต้องตามความเป็นจริง และ มีครบถ้วน

ประโยชน์ของ Data Governance

  • ข้อมูลมีความเป็นระเบียบ
  • มีประสิทธิภาพในการจัดการอย่างแท้จริง
  • ประหยัดเวลา
  • ทำให้ระบบและนโยบายด้านข้อมูลมีมาตรฐาน
  • ยกระดับรายได้ของบริษัท
  • ความสามารถในการตรวจสอบที่ดีขึ้น
  • ยกระดับการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล
  • ยกระดับการจัดการความเสี่ยงของข้อมูล
Facebook
Twitter
Pinterest
LinkedIn
Latest Post