Dashboard คืออะไร? ในบทความนี้มีคำตอบ!

Dashboard คืออะไร? ในบทความนี้มีคำตอบ!

 ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าในยุคปัจจุบันนี้หลายๆ ธุรกิจต่างต้องมีการวางแผนในการดำเนินงานที่รัดกุมมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม ไม่ว่าจะเป็นแผนงานทางการตลาด การกระตุ้นยอดขาย กลยุทธ์การดึงกลุ่มลูกค้า หรือแม้แต่การมองหาจุดอ่อนของคู่แข่ง ดังนั้นข้อมูลหรือรายละเอียดต่างๆ จะต้องครบถ้วนและสามารถมองเห็นภาพได้อย่างชัดเจน เพื่อที่ฝ่ายบริหารจะได้มองเห็นภาพรวมว่าจะต้องควรแก้ไขในจุดไหนหรือต้องโฟกัสในเรื่องใดเป็นพิเศษ และแน่นอนว่า Dashboard จะเข้ามาช่วยเสริมทัพในเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี จนทำให้หลายๆ คน เกิดคำถามขึ้นมาว่า Dashboard คืออะไร ? มันมีประโยชน์อย่างไร ? และทำไมบริษัทใหญ่ๆ ถึงตัดสินใจใช้ Dashboard กัน ? เพราะฉะนั้นในบทความนี้ เราจะขอสรุปรายละเอียดที่สำคัญเกี่ยวกับ Dashboard ให้คุณได้รู้จักมากยิ่งขึ้น

Dashboard คืออะไร?

ความหมายของ Dashboards คือ การนำข้อมูลรายละเอียดต่างๆ มาสร้างเป็นรายงานภาพรวมของธุรกิจ เพื่อให้ผู้บริหารเข้าใจและสามารถวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายมากยิ่งขึ้น และคงจะมีคำถามตามมาว่า Dashboards กับการรายงานนั้นมันมีความแตกต่างกันอย่างไร ? โดยเราขออธิบายง่ายๆ ให้คุณเข้าใจได้ดังนี้…

รายงาน

รายงานคือการนำข้อมูลทั้งหมดมารวบรวมไว้เป็นอันหนึ่งอันเดียว โดยส่วนมากของรายงานจะเน้นไปที่ลายลักษณ์อักษร ซึ่งมีความละเอียดสูง ข้อมูลแน่นและต้องใช้เวลาในการตรวจสอบมากพอสมควร และมันอาจจะไม่ได้เห็นภาพรวมที่ชัดเจนเท่าไหร่นัก ดังนั้นแล้วผู้คนจึงมักจะนำรายงานมาเป็น Database ในการทำ Dashboard นั่นเอง

Dashboards

ในส่วนของ Dashboard จะสามารถทำให้ผู้บริหารหรือฝ่ายที่เกี่ยวข้อง มองเห็นภาพรวมได้ดีกว่ารายงานอยู่หลายเท่าตัว เพราะ Dashboard จะแสดงกราฟให้พวกเขาเห็นได้อย่างชัดเจน ทั้งภาพรวมและรายละเอียดในเรื่องต่างๆ เช่น ส่วนไหนคือจุดอ่อน ส่วนไหนคือส่วนที่ทางบริษัทจะต้องทำการพัฒนาให้ดีมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม และแน่นอนว่าการมองเห็นภาพรวมที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้นนั้น มันจะทำให้การวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น

ขั้นตอนการทำงานของ Dashboard

หลักการทำงานแบบคร่าวๆ ของ Dashboards จะมีอยู่ 4 ขั้นตอนหลักๆ เลยคือ

  1. ดึงข้อมูลต่างๆ ออกมาจาก Database ไม่ว่าจะเป็น SQL / SAP / Google Analytics / Facebook/ รายงานประจำเดือนหรือช่องทางอื่นๆ ที่แต่ละบริษัทใช้  
  2. เมื่อได้ข้อมูลมาแล้วก็จะทำการใช้โปรแกรม Business Intelligence (BI) เช่น Power BI, Tableau ในการ Transform และ Join ข้อมูลจากหลายๆ ที่โดยการทำ Data Model (จากเดิมที่เราทำใน Microsoft Excel เช่น Pivot Table หรือ Vlookup เป็นต้น)
  3. แล้วจากข้อมูลที่เราได้ ก็สามารถทำกราฟออกมาได้ เช่น เปรียบเทียบยอดขายรายช่องทาง เปรียบเทียบยอดขายกับเป้าที่วางไว้ การเปลี่ยนแปลงของยอดขายจากเดือนที่แล้ว หรือปีที่แล้ว นอกจากกราฟต่างๆแล้ว เรายังสามารถทำ conditional formatting ของตารางได้ เช่น ตารางยอดขายรายพนักงานขาย เราให้เทียบกับเป้า แล้วใครที่ขายได้ถึงเป้าให้แสดงสีเขียว ใครขายไม่ถึงเป้าให้แสดงสีแดง (จากเดิมที่เราต้องใช้เวลาต้นเดือนทุกเดือนมาทำ Report ซ้ำแล้วซ้ำเล่าใน Power Point)
  4. เมื่อถึงเดือนใหม่ แทนที่จะต้องทำ Report ก็สามารถใช้ Dashboard นี้เมื่อขึ้น Present Report ให้กับผู้บริหารหรือผู้ที่เกี่ยวข้องในที่ประชุม รวมถึงการประหยัดเวลาในการทำสิ่งเดิม จะช่วยให้เราได้มุมมองใหม่ๆและการวิเคราะห์ที่ลึกขึ้น

ประโยชน์ของ Dashboard ที่ถูกยอมรับในวงกว้าง

  • มองเห็นภาพรวมในด้านต่างๆ ของบริษัทหรือกิจการได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
  • Dashboards จะช่วยให้คุณสามารถแก้ไขปัญหาทางการตลาดได้อย่างตรงจุด
  • ช่วยให้การดูสรุปรายงานไม่น่าเบื่ออีกต่อไป เพราะ Dashboards สามารถเพิ่มเติมสีสันต่างๆ ลงไปได้
  • สามารถวิเคราะห์ประสิทธิภาพทางการตลาดได้ดีมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม
  • มองเห็นภาพว่าสินค้าหรือบริการตัวไหน สามารถสร้างเม็ดเงินได้มากที่สุด
  • แผนการตลาดจะแข็งแรงมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม จากภาพรวมของ Dashboards
  • สามารถนำข้อมูลที่มืออยู่ในมือ มาประยุกต์ใช้เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อบริษัทได้มากที่สุด  
  • พนักงานภายในองค์กรหรือบริษัทสามารถทำงานได้อย่างเป็นขั้น เป็นตอนมากยิ่งขึ้น

Dashboard เหมาะสมกับใครมากที่สุด?

หากถามว่า Dashboards เหมาะสมกับใคร คงต้องบอกว่าเหมาะสมกับทุกคนที่ทำงานภายในองค์กรหรือบริษัท เพราะ Dashboards สามารถวิเคราะห์ข้อมูลออกมาเป็นกราฟได้ตั้งแต่เรื่องการเงิน การบัญชี เรื่องการตลาด ยอดขาย ผลประกอบการ รวมไปถึงประสิทธิภาพการทำงานของแต่ละบุคคลว่าเป็นอย่างไร ดังนั้นหากคุณรู้จักประยุกต์ใช้ Dashboards ให้เป็น การทำงานภายในบริษัทจะมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน อีกทั้งตำแหน่งที่ควรจะเริ่มศึกษาการใช้งาน Dashboards คือ…

  1. เจ้าของกิจการ ผู้บริหาร
  2. พนักงานฝ่ายการเงิน การบัญชี
  3. พนักงานฝ่ายการผลิต
  4. พนังงานขาย
  5. ฝ่าย Marketing

ซึ่งทั้ง 5 ตำแหน่ง ที่เรากล่าวไปข้างต้น ถือได้ว่าเหมาะสมที่จะเรียนรู้และนำ Dashboards มาปรับใช้ในการทำงาน เพราะจะได้มองเห็นภาพต่างๆ ได้อย่างชัดเจนและสามารถวางแผนทางตลาดได้อย่างเฉียบขาดมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม

Dashboards มีทั้งหมด 4 ประเภท

ในหลักความเป็นจริง Dashboards มีอยู่ด้วยกันถึง 4 ประเภท คือ

  1. Strategic Dashboards เป็น Dashboard เชิงกลยุทธ์
  2. Analytical Dashboards เป็น Dashboard เชิงวิเคราะห์
  3. Operational Dashboardsเป็น Dashboard ที่ใช้ตรวจสอบการทำงานอย่างต่อเนื่อง
  4. Informational Dashboards เป็น Dashboard ที่แสดงข้อมูล ตัวเลขที่เป็นข้อเท็จจริงหรือสถิติ

Dashboards สามารถเข้ามาแก้ไขปัญหาในเรื่องใดได้บ้าง?

  • ลดความยุ่งยากในการอ่านรายงานของบริษัทสำหรับผู้บริหาร
  • ลดระยะเวลาในการเข้าประชุม เพราะ Dashboards เข้าใจได้ง่าย จึงไม่จำเป็นต้องเสียเวลาในการสรุปข้อมูลต่างๆ
  • ผู้ที่รับผิดชอบในเรื่องนี้ไม่จำเป็นต้องทำรายงานใหม่ เพราะ Report จะถูกอัพเดทโดยอัตโนมัติเมื่อมีข้อมูลใหม่ๆ เข้ามา

จากข้อมูลที่เรากล่าวไปข้างต้น คงพอจะทำให้คุณเข้าใจและรู้จักกับ Dashboard กันเพิ่มมากยิ่งขึ้น ซึ่งเราบอกได้เลยว่าใครที่อยู่ในวัยทำงานและต้องมีการนำเสนอข้อมูลเชิงลึกในด้านต่างๆ ให้แก่หัวหน้าในที่ประชุม Dashboard คงจะสามารถแปรงร่างกลายเป็นผู้ช่วยให้การนำเสนองานของคุณผ่านพ้นไปได้ด้วยดีอย่างแน่นอน เพราะจุดเด่นของ Dashboard คือการสรุปข้อมูลแบบ Executive ในมุมมองต่างๆ ที่มองง่าย อ่านสบายตา แถมยังเพิ่มสีสันให้กับการนำเสนอได้อีกด้วย อีกทั้งผู้บริหาร เจ้าของกิจการที่ต้องการมองภาพรวมของธุรกิจว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปมากน้อยขนาดไหน ทาง Dashboard ก็คงจะสามารถตอบโจทย์ในเรื่องนี้ของคุณได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว

Facebook
Twitter
Pinterest
LinkedIn
Latest Post

Data Warehouse คืออะไร?

Data Warehouse หรือคลังข้อมูล เป็นระบบที่ออกแบบมาเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลจากหลายแหล่งต่าง ๆ ในองค์กร

Read More »