Dashboard คืออะไร? ในบทความนี้มีคำตอบ!
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าในยุคปัจจุบันนี้หลายๆ ธุรกิจต่างต้องมีการวางแผนในการดำเนินงานที่รัดกุมมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม ไม่ว่าจะเป็นแผนงานทางการตลาด การกระตุ้นยอดขาย กลยุทธ์การดึงกลุ่มลูกค้า หรือแม้แต่การมองหาจุดอ่อนของคู่แข่ง ดังนั้นข้อมูลหรือรายละเอียดต่างๆ จะต้องครบถ้วนและสามารถมองเห็นภาพได้อย่างชัดเจน เพื่อที่ฝ่ายบริหารจะได้มองเห็นภาพรวมว่าจะต้องควรแก้ไขในจุดไหนหรือต้องโฟกัสในเรื่องใดเป็นพิเศษ และแน่นอนว่า Dashboard จะเข้ามาช่วยเสริมทัพในเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี จนทำให้หลายๆ คน เกิดคำถามขึ้นมาว่า Dashboard คืออะไร ? มันมีประโยชน์อย่างไร ? และทำไมบริษัทใหญ่ๆ ถึงตัดสินใจใช้ Dashboard กัน ? เพราะฉะนั้นในบทความนี้ เราจะขอสรุปรายละเอียดที่สำคัญเกี่ยวกับ Dashboard ให้คุณได้รู้จักมากยิ่งขึ้น
Dashboard คืออะไร?
ความหมายของ Dashboards คือ การนำข้อมูลรายละเอียดต่างๆ มาสร้างเป็นรายงานภาพรวมของธุรกิจ เพื่อให้ผู้บริหารเข้าใจและสามารถวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายมากยิ่งขึ้น และคงจะมีคำถามตามมาว่า Dashboards กับการรายงานนั้นมันมีความแตกต่างกันอย่างไร ? โดยเราขออธิบายง่ายๆ ให้คุณเข้าใจได้ดังนี้…
รายงาน
รายงานคือการนำข้อมูลทั้งหมดมารวบรวมไว้เป็นอันหนึ่งอันเดียว โดยส่วนมากของรายงานจะเน้นไปที่ลายลักษณ์อักษร ซึ่งมีความละเอียดสูง ข้อมูลแน่นและต้องใช้เวลาในการตรวจสอบมากพอสมควร และมันอาจจะไม่ได้เห็นภาพรวมที่ชัดเจนเท่าไหร่นัก ดังนั้นแล้วผู้คนจึงมักจะนำรายงานมาเป็น Database ในการทำ Dashboard นั่นเอง
Dashboards
ในส่วนของ Dashboard จะสามารถทำให้ผู้บริหารหรือฝ่ายที่เกี่ยวข้อง มองเห็นภาพรวมได้ดีกว่ารายงานอยู่หลายเท่าตัว เพราะ Dashboard จะแสดงกราฟให้พวกเขาเห็นได้อย่างชัดเจน ทั้งภาพรวมและรายละเอียดในเรื่องต่างๆ เช่น ส่วนไหนคือจุดอ่อน ส่วนไหนคือส่วนที่ทางบริษัทจะต้องทำการพัฒนาให้ดีมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม และแน่นอนว่าการมองเห็นภาพรวมที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้นนั้น มันจะทำให้การวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น
ขั้นตอนการทำงานของ Dashboard
หลักการทำงานแบบคร่าวๆ ของ Dashboards จะมีอยู่ 4 ขั้นตอนหลักๆ เลยคือ
- ดึงข้อมูลต่างๆ ออกมาจาก Database ไม่ว่าจะเป็น SQL / SAP / Google Analytics / Facebook/ รายงานประจำเดือนหรือช่องทางอื่นๆ ที่แต่ละบริษัทใช้
- เมื่อได้ข้อมูลมาแล้วก็จะทำการใช้โปรแกรม Business Intelligence (BI) เช่น Power BI, Tableau ในการ Transform และ Join ข้อมูลจากหลายๆ ที่โดยการทำ Data Model (จากเดิมที่เราทำใน Microsoft Excel เช่น Pivot Table หรือ Vlookup เป็นต้น)
- แล้วจากข้อมูลที่เราได้ ก็สามารถทำกราฟออกมาได้ เช่น เปรียบเทียบยอดขายรายช่องทาง เปรียบเทียบยอดขายกับเป้าที่วางไว้ การเปลี่ยนแปลงของยอดขายจากเดือนที่แล้ว หรือปีที่แล้ว นอกจากกราฟต่างๆแล้ว เรายังสามารถทำ conditional formatting ของตารางได้ เช่น ตารางยอดขายรายพนักงานขาย เราให้เทียบกับเป้า แล้วใครที่ขายได้ถึงเป้าให้แสดงสีเขียว ใครขายไม่ถึงเป้าให้แสดงสีแดง (จากเดิมที่เราต้องใช้เวลาต้นเดือนทุกเดือนมาทำ Report ซ้ำแล้วซ้ำเล่าใน Power Point)
- เมื่อถึงเดือนใหม่ แทนที่จะต้องทำ Report ก็สามารถใช้ Dashboard นี้เมื่อขึ้น Present Report ให้กับผู้บริหารหรือผู้ที่เกี่ยวข้องในที่ประชุม รวมถึงการประหยัดเวลาในการทำสิ่งเดิม จะช่วยให้เราได้มุมมองใหม่ๆและการวิเคราะห์ที่ลึกขึ้น
ประโยชน์ของ Dashboard ที่ถูกยอมรับในวงกว้าง
- มองเห็นภาพรวมในด้านต่างๆ ของบริษัทหรือกิจการได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
- Dashboards จะช่วยให้คุณสามารถแก้ไขปัญหาทางการตลาดได้อย่างตรงจุด
- ช่วยให้การดูสรุปรายงานไม่น่าเบื่ออีกต่อไป เพราะ Dashboards สามารถเพิ่มเติมสีสันต่างๆ ลงไปได้
- สามารถวิเคราะห์ประสิทธิภาพทางการตลาดได้ดีมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม
- มองเห็นภาพว่าสินค้าหรือบริการตัวไหน สามารถสร้างเม็ดเงินได้มากที่สุด
- แผนการตลาดจะแข็งแรงมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม จากภาพรวมของ Dashboards
- สามารถนำข้อมูลที่มืออยู่ในมือ มาประยุกต์ใช้เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อบริษัทได้มากที่สุด
- พนักงานภายในองค์กรหรือบริษัทสามารถทำงานได้อย่างเป็นขั้น เป็นตอนมากยิ่งขึ้น
Dashboard เหมาะสมกับใครมากที่สุด?
หากถามว่า Dashboards เหมาะสมกับใคร คงต้องบอกว่าเหมาะสมกับทุกคนที่ทำงานภายในองค์กรหรือบริษัท เพราะ Dashboards สามารถวิเคราะห์ข้อมูลออกมาเป็นกราฟได้ตั้งแต่เรื่องการเงิน การบัญชี เรื่องการตลาด ยอดขาย ผลประกอบการ รวมไปถึงประสิทธิภาพการทำงานของแต่ละบุคคลว่าเป็นอย่างไร ดังนั้นหากคุณรู้จักประยุกต์ใช้ Dashboards ให้เป็น การทำงานภายในบริษัทจะมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน อีกทั้งตำแหน่งที่ควรจะเริ่มศึกษาการใช้งาน Dashboards คือ…
- เจ้าของกิจการ ผู้บริหาร
- พนักงานฝ่ายการเงิน การบัญชี
- พนักงานฝ่ายการผลิต
- พนังงานขาย
- ฝ่าย Marketing
ซึ่งทั้ง 5 ตำแหน่ง ที่เรากล่าวไปข้างต้น ถือได้ว่าเหมาะสมที่จะเรียนรู้และนำ Dashboards มาปรับใช้ในการทำงาน เพราะจะได้มองเห็นภาพต่างๆ ได้อย่างชัดเจนและสามารถวางแผนทางตลาดได้อย่างเฉียบขาดมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม
Dashboards มีทั้งหมด 4 ประเภท
ในหลักความเป็นจริง Dashboards มีอยู่ด้วยกันถึง 4 ประเภท คือ
- Strategic Dashboards เป็น Dashboard เชิงกลยุทธ์
- Analytical Dashboards เป็น Dashboard เชิงวิเคราะห์
- Operational Dashboardsเป็น Dashboard ที่ใช้ตรวจสอบการทำงานอย่างต่อเนื่อง
- Informational Dashboards เป็น Dashboard ที่แสดงข้อมูล ตัวเลขที่เป็นข้อเท็จจริงหรือสถิติ
Dashboards สามารถเข้ามาแก้ไขปัญหาในเรื่องใดได้บ้าง?
- ลดความยุ่งยากในการอ่านรายงานของบริษัทสำหรับผู้บริหาร
- ลดระยะเวลาในการเข้าประชุม เพราะ Dashboards เข้าใจได้ง่าย จึงไม่จำเป็นต้องเสียเวลาในการสรุปข้อมูลต่างๆ
- ผู้ที่รับผิดชอบในเรื่องนี้ไม่จำเป็นต้องทำรายงานใหม่ เพราะ Report จะถูกอัพเดทโดยอัตโนมัติเมื่อมีข้อมูลใหม่ๆ เข้ามา
จากข้อมูลที่เรากล่าวไปข้างต้น คงพอจะทำให้คุณเข้าใจและรู้จักกับ Dashboard กันเพิ่มมากยิ่งขึ้น ซึ่งเราบอกได้เลยว่าใครที่อยู่ในวัยทำงานและต้องมีการนำเสนอข้อมูลเชิงลึกในด้านต่างๆ ให้แก่หัวหน้าในที่ประชุม Dashboard คงจะสามารถแปรงร่างกลายเป็นผู้ช่วยให้การนำเสนองานของคุณผ่านพ้นไปได้ด้วยดีอย่างแน่นอน เพราะจุดเด่นของ Dashboard คือการสรุปข้อมูลแบบ Executive ในมุมมองต่างๆ ที่มองง่าย อ่านสบายตา แถมยังเพิ่มสีสันให้กับการนำเสนอได้อีกด้วย อีกทั้งผู้บริหาร เจ้าของกิจการที่ต้องการมองภาพรวมของธุรกิจว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปมากน้อยขนาดไหน ทาง Dashboard ก็คงจะสามารถตอบโจทย์ในเรื่องนี้ของคุณได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว